ภาษา

บทความเพื่อสุขภาพ

ค้นหาบทความ

ปัจจัยเสี่ยงการตั้งครรภ์ทารกดาวน์ซินโดรม

ดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมในทารกแรกเกิด ซึ่งทำให้เด็กมีปัญหาด้านร่างกาย พัฒนาการ และสติปัญญา โดยปกติคนเราจะมีโครโมโซมจำนวน 23 คู่ หรือ 46 แท่ง แต่ในกรณีที่เป็นดาวน์ซินโดรม มักเกิดความผิดปกติที่เรียกว่า Trisomy 21 คือการที่มีโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง รวมเป็น 3 แท่ง นอกจากนี้ก็อาจเกิดจากความผิดปกติรูปแบบอื่น เช่น เกิดการสับเปลี่ยนของโครโมโซม และที่ผ่านมาพบทารกที่เป็นดาวน์ซินโดรมได้ประมาณ 1 ใน 350 ในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป

 

 

ปัจจัยเสี่ยงการตั้งครรภ์ทารกดาวน์ซินโดรม
แม่ที่ตั้งครรภ์ตอนอายุมากกว่า 35 ปี มีโอกาสที่ทารกจะเป็นดาวน์ซินโดรมสูงถึง 1 ใน 350 และยิ่งอายุของแม่มากขึ้น ความเสี่ยงก็จะยิ่งสูงขึ้นตามไปด้วย
แม่ที่เคยคลอดบุตรคนก่อนเป็นดาวน์ซินโดรม หากตั้งท้องครั้งต่อไป มีโอกาสสูงที่บุตรจะเป็นดาวน์ซินโดรมได้เช่นกัน
มีประวัติคนในครอบครัวเป็นดาวน์ซินโดรม เช่น พี่น้อง หรือญาติที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือด

 

สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ แผนกสูตินรีเวช
โทร. 02-339-0000 ต่อ 2079, 2080