บทความเพื่อสุขภาพ

ค้นหาบทความ

วันงดสูบบุหรี่โลก

 

สัญลักษณ์ของวันงดสูบบุหรี่โลก

ดอกลีลาวดี เป็นดอกไม้ที่มีความหมายถึง การมีแต่ความสุข ชื่อเดิมนั้น คือ ดอกลั่นทม ซึ่งเมื่อก่อนทุกคนจะเข้าใจว่าเป็นดอกไม้อัปมงคล ไม่นิยมปลูกในบ้าน ปลูกแล้วมีแต่ความทุกข์ระทม แต่ถ้าศึกษาด้านภาษาจริงๆ คำว่า ลั่นทมเป็นคำผสมจากลั่น+ทม

รวมความของดอกไม้ประจำวันงดสูบบุหรี่ได้ว่า ละทิ้งความระทม ความเศร้าหมองต่างๆ นั่นก็คือให้มีความสุข สดใส และพอใกล้จะถึงวัน ที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี จะมีกิจกรรมต่างๆ เพื่อกระตุ้นเตือนให้ผู้สูบบุหรี่ที่พยายามที่จะเลิกสูบบุหรี่ ทั้งหน่วยงานภาครัฐหน่วยงานสาธารณสุขทุกแห่งร้านอาหารต่างๆตลอดจนหน่วยงานทีมีความสนใจ ได้ร่วมกันรณรงค์ให้เลิกสูบบุหรี่ บางหน่วยงานจะมีการจัดขบวนมอบของกระตุ้นกำลังใจเพื่อวันที่ไร้บุหรี่ จัดเพื่อสำหรับผู้ที่ตั้งใจจะเลิกบุหรี่อย่างแท้จริง

 

 

โทษของบุหรี่ มีดังนี้

1.มีโอกาสตาบอดถาวร :

การสูบบุหรี่ที่มีโอกาสทำให้ตาบอดได้จริง เพราะผู้สูบบุหรี่จะเป็นต้อกระจกได้เร็วกว่าคนทั่วไป เนื่องจากสารพิษจะเร่งให้เลนต์ตาที่อยู่ข้างลูกตาขุ่นมัว และเริ่มขุ่นมากขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะเวลาที่สูบ จนเกิดเป็นภาวะต้อกระจก หากไม่ผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ก็จะตาบอด นอกจากนี้ การสูบบุหรี่ยังก่อให้เกิดภาวะหลอดเลือดเลี้ยงจอเรตินาหรือจอประสาทตาตีบตันได้ ซึ่งจะส่งผลให้เซลล์ประสาทของจอประสาทตาขาดเลือดและตายไป ทำให้ตาบอดถาวร ไม่สามารถรับภาพหรือแสงได้

 

2.หลอดเลือดสมองตีบ-แตก-ตัน :

สารพิษอันน่ากลัวในควันบุหรี่จะทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดตีบ แตก ตัน ซึ่งถ้าเกิดขึ้นกับหลอดเลือดส่วนที่ไปเลี้ยงสมอง ก็จะทำให้เป็นโรคสมองเสื่อม โดยมีงานวิจัยจากสถาบันอุดมศึกษาในลอนดอน ที่เคยลงตีพิมพ์ในเว็บไซต์เอบีซีนิวส์ ระบุว่า คนที่สูบบุหรี่จัดอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในเพศชาย ประสิทธิภาพของสมองจะเสื่อมเร็วกว่าผู้คนที่ไม่สูบบุหรี่ และจะมีระดับการทำงานของสมองเทียบเท่ากับคนที่แก่กว่า 10 ปี หรืออธิบายได้อย่างง่าย ๆ ว่า หากคุณอายุ 50 ปี และสูบบุหรี่ ประสิทธิภาพการทำงานของสมองของคุณจะเทียบเท่ากับคนอายุ 60 ปีที่ไม่สูบบุหรี่นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่แค่อาการสมองเสื่อมจะถามหาผู้สูบบุหรี่เท่านั้น แต่ถ้าหลอดเลือดในสมองตีบตันมาก ๆ เข้า จนเส้นเลือดในสมองแตก ก็ทำให้เป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ทุกข์ทรมานไปทั้งชีวิต

 

3.โรคหัวใจและหลอดเลือด :

บุหรี่จะทำให้หลอดเลือดหัวใจหดตัว มีการจับตัวของไขมันที่ผนังหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดหัวใจตีบลง จนเกิดภาวะหัวใจขาดออกซิเจน เส้นเลือดหัวใจตีบ เมื่อเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่ได้ จะเกิดอาการจุกเสียด เจ็บหน้าอก โดยเฉพาะเวลาออกกำลังกาย มีโอกาสเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันจนเสียชีวิตได้โดยไม่รู้ตัว

 

4.โรคปอดและระบบทางเดินหายใจ :

ปอดคืออวัยวะหนึ่งที่ได้รับผลกระทบเต็ม ๆ จากการสูบบุหรี่ โดยจะทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง หายใจไม่สะดวก หลอดลมอักเสบ ปอดบวม โรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) เป็นโรคถุงลมโป่งพอง ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้จนปอดส่วนใหญ่ถูกทำลาย อาจต้องใช้เครื่องออกซิเจนช่วยหายใจตลอดเวลา และที่ร้ายแรงที่สุดก็คือ"โรคมะเร็งปอดซึ่งเป็นโรคร้ายที่คร่าชีวิตคนไทยเป็นอันดับต้น ๆ และส่วนใหญ่แล้ว ผู้ป่วยมะเร็งปอดร้อยละ 90 มีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่นี่เอง อาการเริ่มต้นจากอาการไอแห้ง ๆ เป็นเวลานานตามมาด้วยอาการไอเรื้อรัง แต่ในบางคนอาจไม่พบอาการไอเลย มารู้ตัวอีกทีก็ตรวจพบมะเร็งในระยะลุกลามแล้ว ซึ่งผู้ป่วยร้อยละ 90 จะเสียชีวิตใน 1-2 ปีหลังจากเป็นโรค
นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลจากศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ ระบุว่า ผู้ที่สูบบุหรี่เพียงวันละ ซองก็มีความเสี่ยงโรคมะเร็งปอดมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ถึง 10 เท่า และหากสูบวันละ ซอง ก็เสี่ยงโรคมะเร็งมากกว่าคนไม่สูบบุหรี่ถึง 25 เท่า 
 

5.โรคเกี่ยวกับกระดูกและกล้ามเนื้อ :

ผู้สูบบุหรี่จัด ๆ เสี่ยงต่อโรคกระดูกพุรนด้วย เพราะสารพิษในบุหรี่ โดยเฉพาะ "นิโคตินจะไปขัดขวางเลือดที่ส่งไปเลี้ยงกระดูก และยังลดการดูดซึมแคลเซียม สิงห์อมควันจึงมีกระดูกเปราะ หักง่าย อีกทั้งยังมีอาการอักเสบของข้อ เอ็นกล้ามเนื้ออาจฉีกขาดได้ง่าย ซึ่งถ้าเป็นแล้วจะรักษาได้ยากกว่าคนทั่วไป และแผลก็จะหายช้าด้วย
 

6.โรคระบบทางเดินอาหาร :

การสูบบุหรี่ทำให้ติดเชื้อ Helicobacter pylori ได้ง่าย ซึ่งเชื้อนี้เป็นสาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำจะมีโอกาสเกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นง่ายกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ เพราะสารเคมีในควันบุหรี่จะไปกระตุ้นให้กระเพาะอาหารหลั่งน้ำย่อยออกมามากกว่าปกติ และแผลก็หายยากด้วย

 

7.โรคระบบทางเดินปัสสาวะ :

นิโคตินในบุหรี่จะไปทำลายกล้ามเนื้อที่ควบคุมการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ ทำให้กล้ามเนื้อส่วนนี้อ่อนตัวลง ผู้สูบบุหรี่จึงมีโอกาสกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ และที่ร้ายแรงกว่านั้นก็คือ คนที่สูบบุหรี่มีโอกาสเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะเพิ่มขึ้น เพราะสารพิษสามารถดูดซึมเข้ากระแสเลือดและขับถ่ายออกทางกระเพาะปัสสาวะได้ การสูบบุหรี่จึงทำให้เยื่อบุกระเพาะปัสสาวะสัมผัสกับสารก่อมะเร็งโดยตรง

 

8.โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

สารพิษจากบุหรี่จะไปทำให้เส้นเลือดในร่างกายอุดตัน รวมทั้งเส้นเลือดขนาดเล็กที่ไปเลี้ยงประสาทที่เกี่ยวกับการควบคุมการแข็งตัวของอวัยวะเพศชาย นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้ที่สูบบุหรี่จะมีจำนวนอสุจิน้อยกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ด้วย สิงห์อมควันทั้งหลายจึงเผชิญปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

 

9.หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงแท้ง-ลูกในครรภ์เสี่ยงตาย

หญิงตั้งครรภ์เป็นคนที่ต้องใส่ใจดูแลสุขภาพตัวเองให้ดีที่สุด แต่หากเป็นที่สูบบุหรี่อยู่ก่อนแล้ว และแม้ตั้งครรภ์แล้วก็ยังเลิกสูบไม่ได้ จะเป็นอันตรายต่อตัวเองและลูกในครรภ์เป็นอย่างมากเพราะคุณแม่ตั้งครรภ์จะเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น รกเกาะต่ำ รกลอกตัวก่อนกำหนด ทารกคลอดก่อนกำหนด มีโอกาสเสี่ยงแท้งบุตรเพิ่มขึ้นถึง เท่าหรือหากยังไม่ตั้งครรภ์ ผู้หญิงก็จะเผชิญภาวะมีบุตรยาก

 

10.สารพัดโรคมะเร็ง

โรคมะเร็งปอดที่ผู้สูบบุหรี่มีโอกาสเสี่ยงสูงมาก ๆ แล้ว สิงห์อมควันทั้งหลายยังอาจจะได้รับของแถมเป็นโรคมะเร็งอวัยวะส่วนอื่น ๆ อีกเพียบ ทั้งมะเร็งช่องปาก มะเร็งโพรงจมูก มะเร็งลำคอและกล่องเสียง มะเร็งหลอดลม มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับอ่อน มะเร็งตับ มะเร็งไต มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งทวารหนัก มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน
สำหรับคุณผู้หญิง น่าตกใจไม่น้อยที่หลายปีหลังมานี้พบผู้หญิงสูบบุหรี่กันมากขึ้น ซึ่งการสูบบุหรี่จะทำให้ผู้หญิงมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูกสูงกว่าผู้หญิงทั่วไปถึง เท่า เพราะการสูบบุหรี่ ทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง มีผลให้เกิดการติดเชื้อไวรัสแปปปิวโลมาได้ง่าย ซึ่งปากมดลูกที่ติดเชื้อไวรัสตัวนี้ มีเปอร์เซ็นต์กลายเป็นมะเร็งปากมดลูกสูง นอกจากนี้ ยังเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งรังไข่ด้วย

 

11.อาการทางร่างกายอื่นๆ

นอกจากสารพัดโรคร้ายแล้ว บุหรี่ยังส่งผลต่อทุกระบบในร่างกายตั้งแต่หัวจรดเท้า ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีลักษณะหัวล้าน ผมหงอกเร็ว ใบหน้าเหี่ยวย่น ดูแก่เร็ว กลิ่นตัวเหม็น มีกลิ่นปาก ฟันผุ ฟันดำ เสียวฟันง่าย มีคราบบุหรี่ติดเหงือกและฟัน เหงือกร่น เป็นโรคเหงือกอักเสบร่วมด้วย เหนื่อยง่าย หอบง่าย เล็บเหลือง นิ้วเหลือง ท้องอืด แน่นเฟ้อ เบื่ออาหาร

นอกจากนี้ หากเป็นแผลจะหายช้าด้วย เนื่องจากสารนิโคตินที่ร่างกายได้รับเข้าไปอยู่ในกระแสเลือด มีผลทำให้ออกซิเจนในเลือดต่ำลง ส่งผลให้บาดแผลต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นต้องใช้ระยะเวลารักษานาน รวมถึงบาดแผลจะมีขนาดใหญ่ขึ้นและแดงกว่าปกติ

 

 

หลังจากเลิกบุหรี่จะมีอะไรเกิดขึ้นกับร่างกายของเรา !!!!

  • หลังจากหยุดสูบ 20 นาทีแรก ชีพจรจะกลับมาเต้นเป็นปกติ

  • หลังจากหยุดสูบ ชั่วโมง ปริมาณออกซิเจนในเลือดจะกลับคืนสู่ปกติ ปริมาสารนิโคตินและคาร์บอนมอนนอกไซด์ในร่างกายจะลดลงครึ่งหนึ่ง

  • หลังจากเลิกสูบ 2-12 สัปดาห์ เหงือกและฟัน รวมถึงการไหลเวียนเลือดจะดีขึ้น

  • หลักจากเลิกสูบ 3-9 เดือน การทำงานของปอดจะดีขึ้น และอาการไอจะลดลง

  • หลังจากเลิกสูบ ปี ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจลดลงกว่าครึ่ง

  • หลังจากเลิกสูบ 10 ปี ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งปอดได้ครึ่งหนึ่ง

  • หลังจากเลิกสูบ 15 ปี สภาพหัวใจจะกลับคืนสู่ปกติ เหมือนคนไม่เคยสูบบุหรี่เลย


    แนวทางการเลิกบุหรี่

  • กำลังใจอย่างเดียว ในการเลิกบุหรี่ด้วยตัวเองโดยอาศัยกำลังใจอย่างเดียวพบว่าส่วนใหญ่จะประสบความสำเร็จน้อยและมักกลับมาสูบอีก

  • วิธีการอื่น ๆ เช่น การใช้พฤติกรรมบำบัด การทำกิจกรรมกลุ่ม การใช้น้ำยาบ้วนปาก (ซึ่งทำให้รสชาติของบุหรี่เปลี่ยนไปการสะกดจิตและการฝังเข็ม หลักฐานที่จะนำมาสนับสนุนผลความสำเร็จของวิธีการต่าง ๆ เหล่านี้ยังขาดอยู่มาก

  • การใช้ยาในการรักษาการติดนิโคติน การใช้ยาสามารถช่วยลดความทรมานจากการติดทางร่างกายได้ ทำให้เราสามารถทุ่มเทกำลังใจในการต่อสู้กับการติดทางจิตใจได้เต็มที่ ในปัจจุบันมีการใช้ยาช่วยเลิกบุหรี่

 

 

การให้นิโคตินทดแทน

มีอยู่ในรูปของแผ่นแปะนิโคติน และหมากฝรั่งนิโคติน หลักการคือการให้สารนิโคติน ในระดับต่ำ ๆ เพื่อระงับอาการขาดนิโคติน อาการดังกล่าว ได้แก่ อาการหงุดหงิดง่าย กระวนกระวาย เสียสมิ และเหนื่อยง่าย หลังจากนั้นจะค่อย ๆ ลดขนาดยาลงเรื่อย ๆ จนหมด ทั้งแผ่นแปะนิโคติน และหมากฝรั่ง นิโคตินใช้ได้ผลใกล้เคียงกัน ข้อจำกัดของการใช้นิโคตินทั้ง รูปแบบนี้คือ เมื่อเริ่มใช้ยาผู้สุบบุหรี่ต้องหยุดสูบบุหรี่ทันที การใช้ยาไปด้วยแล้วค่อย ๆ สูบน้อยลง จะทำให้เลิกบุหรี่ไม่สำเร็จ นอกจากนั้นปริมาณนิโคตินโดยรวมที่ร่างกายได้รับเข้าไปอาจมากเกินไปทำให้เกิดอันตรายได้ ดังนั้นการใช้ยาทั้ง ชนิดนี้จึงต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์

ยาเม็ดรับประทาน

ในปัจจุบันมีแนวทางอื่นในการเลิกบุหรี่ในรูปยาเม็ดรับประทานที่สามารถลดอาการขาดนิโคตินโดยที่ผู้สูบบุหรี่ไม่จำเป็นต้องหยุดสูบบุหรี่ในทันทีที่ทานยาเนื่องจากยาตัวนี้ไม่มีส่วนผสมของสารนิโคติน จึงทำให้ไม่ต้องเสี่ยงกับการได้รับนิโคตินมากไป การใช้ยานี้ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เช่นเดียวกัน

 

 

อ้างอิง 1. https://guru.sanook.com/4116

อ้างอิง 2. https://www.bangkokpattayahospital.com

อ้างอิง 3. https://health.kapook.com/view89443.html