Language

Clinics & Centers

ศูนย์เบาหวาน

ศูนย์เบาหวาน

Overview

■ ขอบเขตการให้บริการ
ให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานแบบครบวงจร ภายใต้การดูแลจากทีมแพทย์เชี่ยวชาญด้านเบาหวานและต่อมไร้ท่อ รวมทั้งมีการส่งเสริมให้ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวาน เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและญาติได้รับคำแนะนำที่ถูกวิธี ในการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน และการรับประทานอาหารที่เหมาะสมโดยนักกำหนดอาหารเพื่อการดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธี และสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคเบาหวาน โรคเบาหวาน แบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆได้ 2 ชนิด คือ
ชนิดที่ 1 เกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลินอย่างสิ้นเชิงทำให้ต้องใช้อินซูลินในการรักษา
ชนิดที่ 2 เกิดจากความผิดปกติสำคัญ 2 อย่าง คือการขาดฮอร์โมนอินซูลินและการดื้อต่อฤทธิ์ของฮอร์โมนอินซูลิน (ต่อไปจะใช้คำว่าภาวะดื้อต่ออินซูลิน) อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่มาจากตับอ่อน มีความสำคัญมากในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติอยู่ตลอดเวลา

อาการบ่งชี้ของโรคเบาหวาน หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย น้ำหนักลด เป็นแผลแล้วหายยากมีอาการชาปลายมือปลายเท้า มีมดขึ้นปัสสาวะ
โรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน แบ่งออกเป็น
- โรคแทรกซ้อนเฉียบพลัน ได้แก่ น้ำตาลในเลือดต่ำและน้ำตาลในเลือดสูงมาก ซึ่งอาจเกิดร่วมกับภาวะเลือดเป็นกรด หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
- โรคแทรกซ้อนเรื้อรัง ส่วนใหญ่เกิดจากน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานหลายปีอันเป็นผลจากภาวะดื้อต่ออินซูลินในระยะแรก ตามด้วยภาวะขาดอินซูลิน ทำให้โครงสร้างและหน้าที่ของหลอดเลือดผิดปกติโดยเฉพาะหลอดเลือดแดงที่หัวใจ ไต จอประสาทตา และเท้า มีผลทำให้เกิดเส้นเลือดหัวใจตีบ ไตวาย จอประสาทตาเสื่อม เป็นแผลเรื้อรังที่เท้า อาจทำให้ต้องตัดนิ้วเท้าหรือเกิดเส้นเลือดในสมองตีบ แตก เป็นสาเหตุให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต
การเสื่อมของประสาทส่วนปลาย ขณะนี้ยังไม่มีวิธีที่ดีพอสำหรับป้องกันไม่ให้เกิด แต่อาจทำให้เกิดช้าลงหรือความรุนแรงน้อยลง โดยการควบคุมเบาหวานรักษาระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ใกล้เคียงกับคนปกติร่วมกับการดูแลเท้าและตาอย่างเหมาะสม

- การดูแลระวังรักษาเท้าผู้ป่วยเบาหวาน การดูแลระวังรักษาเท้าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้เป็นเบาหวาน โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวาน มีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดแผลเรื้อรังหรือเกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรงมากกว่าคนปกติ ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ดีพอ อาจลุกลามถึงต้องเสียนิ้วเท้าหรือเสียขา สิ่งเหล่านี้สามารถป้องกันได้ โดยการเอาใจใส่สำรวจเท้าทุกวัน ถ้าเกิดความผิดปกติควรปรึกษาแพทย์ทันที
ข้อแนะนำ... สวมรองเท้าทุกครั้งที่ออกนอกบ้าน เลือกรองเท้าที่ไม่คับไม่หลวมเกินไป งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการนั่งไขว้ขาเพราะจะทำให้การไหลเวียนโลหิตไปเลี้ยงเท้าไม่สะดวก
- การตรวจดูจอประสาทตา ด้วยกล้องที่มีความสามารถถ่ายรูปเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงตาตรวจดูจุดเลือดออก เส้นเลือดแตกในผู้ป่วยเบาหวานได้โดยไม่ต้องขยายม่านตา ซึ่งต้องตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

■ บริการเฉพาะทาง
แนะนำบริการ
1.การตรวจเพื่อค้นหาความเสี่ยงเบื้องต้นต่อกลุ่มโรคเมตาบอลิก (Metabolic Syndrome) โดยคำนวณจากค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ดัชนีมวลกาย เป็นการดูความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักและส่วนสูงเนื่องจากคนเราเมื่อสูงถึงจุดหนึ่งแล้วก็จะหยุดสูงมีแต่น้ำหนักเท่านั้นที่จะเพิ่มขึ้น ซึ่งน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมีผลต่อสุขภาพซึ่งจะนำไปสู่ความเสี่ยงในการเกิดเบาหวาน ไขมันในเลือดสูงและเส้นเลือดหัวใจอุดตัน คนที่มีดัชนีมวลกายสูงจะมีไขมันในร่างกายมากกว่าปกติซึ่งเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน ไขมันในเลือดสูงและเส้นเลือดหัวใจอุดตัน
2.การตรวจประเมินความผิดปกติจากโรคเบาหวาน โดยอายุรแพทย์โรคเบาหวาน มีแพทย์เฉพาะทางต่อมไร้ท่อพร้อมให้คำแนะนำปรึกษาเพื่อค้นหาความเสี่ยง / ติดตามตรวจรักษาประเมินการควบคุมเบาหวานอย่างต่อเนื่อง และป้องกันโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน
3.การตรวจสุขภาพเท้าอย่างน้อยปีละครั้ง (เพื่อค้นหาแผลเรื้อรังและความเสี่ยงในการเกิดแผลเบาหวาน) พร้อมให้คำแนะนำการเลือกรองเท้าที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดแผล อุบัติเหตุจากการตัดเล็บ หรือการขูดหนังหนาที่ไม่ถูกวิธี
4.การตรวจจอประสาทตา ใช้วิธีการถ่ายรูปแบบขยายและไม่ขยายม่านตา โดยจักษุแพทย์ เพื่อประเมินโรคแทรกซ้อนของเบาหวานในตาภาพจอประสาทตาถูกทำลาย
5.การตรวจการทำงานของไต โดยการตรวจปัสสาวะหาไมโครอัลบูมิน และตรวจเลือดดูการสะสมของเสียจากไตในกระแสเลือด
6.การตรวจการทำงานของหัวใจและประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โดยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและการตรวจสมรรถภาพการทำงานของหัวใจขณะออกกำลังกาย เพื่อดูการทำงานของหัวใจ จังหวะการเต้นของหัวใจ
7.การรักษาด้วยอินซูลินปั๊ม เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่เลียนแบบการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินจากตับอ่อน สามารถควบคุมการเพิ่มยาอินซูลินได้
8.การผ่าตัดต่อเส้นเลือดที่ขา เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงเท้า ทำให้ผู้ป่วยไม่เสี่ยงกับการถูกตัดนิ้วหรือขาเพราะเกิดภาวะหลอดเลือดที่ขาตีบตัน
9.ศูนย์บริการให้ความรู้ข้อมูลโรคเบาหวาน เป็นบริการพิเศษเพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและญาติ ได้รับคำแนะนำในการดำเนินชีวิตในแต่ละวันที่ถูกวิธี
10.การตรวจสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานและผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ถ้าเป็นเบาหวานจะดูแลรักษาอย่างไร เบาหวาน เป็นความเจ็บป่วยเรื้อรังที่มีผลกระทบต่อการทำงานของอวัยวะทุกระบบของร่างกาย ทำให้สุขภาพของผู้ป่วยอาจเสื่อมเร็วกว่าคนปกติ หากผู้ป่วยไม่ดูแลตนเองอย่างถูกต้องและเหมาะสมแล้วจะก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่ายและรวดเร็ว จนเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานจึงควรใส่ใจดูแลสุขภาพตนเองให้ถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข อีกทั้งยังเป็นการป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ด้วยแนวทางการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน

Our facilities & medical technologies

Package & Promotion



ปรแกรมตรวจสุขภาพเบาหวาน...อ่านต่อ


Location & Contact

-