
1. โรคเส้นประสาทกดทับเส้น
เป็นภาวะที่เส้นประสาทมีเดียนซึ่งเป็นเส้นประสาทหลักของมือถูกบีบอัดหรือกดทับภายในข้อมือ เกิดจากความผิดปกติของโรคงสร้างมือ หรือการใช้งานมืออย่างไม่เหมาะสม
อาการ
- ปวดที่ข้อมือจากโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ
- ปวดข้อมือในช่วงกลางคืน
- ชาที่นิ้วมือ นิ้วชี้ และนิ้วกลาง
- มีความรู้สึกเหมือนนิ้วหนาและหนัก
อาจมีปัจจัยต่างๆ ที่เป็นสาเหตุ ดังนี้
-
พันธุกรรม โดยผู้ที่มีข้อมือเล็ก เช่น ผู้หญิง เสี่ยงต่อการบีบอัดหรือกดทับเส้นประสาทมีเดียนสูง
-
ความผิดปกติด้านโครงสร้าง เช่น ข้อมือหักหรือเคลื่อน ซึ่งอาจทำให้เส้นประสาทมีเดียนถูกกดทับได้
-
การใช้งานมือและข้อมือที่ไม่เหมาะสม โดยผู้ที่เคลื่อนไหวมือกับข้อมือในลักษณะเดียวติดต่อกันเป็นเวลานานจะมีแรงกดทับที่เส้นประสาทมีเดียนมากขึ้น เช่น แม่บ้าน แม่ครัว หรือแม่ค้าส้มตำ
-
เส้นประสาทถูกทำลายจากโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีเส้นประสาทมือถูกทำลายมีความเสี่ยงสูง
-
การอักเสบของเนื้อเยื่อบริเวณข้อมือ เช่น ข้อมืออักเสบ ซึ่งมีผลต่อเนื้อเยื่อบุรอบเอ็นยึดข้อมมือ และอาจทำให้เส้นประสาทมีเดียนถูกกดทับ
-
ภาวะอ้วน เป็นอีกปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เส้นประสาทข้อมือถูกบีบอัดหรือรับแรงกดจนเกิด Carpal Tunnel Syndrome ได้เช่นกัน
-
การเกิดของเหลวคั่งในร่างกาย ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในผู้หญิงตั้งครรภ์ หรือผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนจนทำให้เส้นประสาทมีเดียนถูกกดทับ
การรักษาเบื้องต้น
-
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น พักมือหลังการใช้งานเป็นเวลานาน หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจทำให้อาการแย่ลงและประคบเย็นเมื่อมือบวม เพื่อชะลอหรือป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดกับเส้นประสาทมีเดียนข้อมือ
-
การใส่เฝือกและอุปกรณ์ช่วยพยุง เพื่อจัดวางให้เส้นประสาทมีเดียนอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ไม่ตึงตัว หรือถูกกดทับ โดยเฉพาะเมื่อผู้ป่วยต้องนอนหลับหรือทำกิจกรรมที่อาจทำให้อการของโรคแย่ลง
-
การทำกายภาพบำบัดมือ นักกายภาพบำบัดจะแนะนำวิธีและขั้นตอนการทำกายภาพบำบัดบริเวณข้อมือ เพื่อให้เส้นประสาทมีเดียนเคลื่อนไหวในช่องข้อมือได้สะดวกขึ้น
-
การใช้ยาสเตียรอยด์ ได้แก่ การฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์กับคอร์ติโซน เช่น ลิโดเคน เข้าช่องข้อมือ เพื่อลดการอักเสบและอาการปวด แต่การรักษาด้วยวิธีนี้มักได้ผลเพียงชั่วคราว และไม่ควรใช้รักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน
-
การรักษาโรคประจำตัวอื่นๆ ผู้ป่วยโรคเบาหวานและข้ออักเสบควรเข้ารับการรักษาและควบคุมอาการของโณคนั้นๆให้ดีเสมอ เพื่อป้องกันอาการกำเริบหรือผลข้างเคียงอื่นๆ ที่เป็นอันตราย
การรักษาด้วยการผ่าตัด
หากการักษาเบื้องต้นไม่ได้ผลหรือผู้ป่วยมีอาการรุนแรง ผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อลดแรงกดที่เส้นประสาทมีเดียน ซึ่งแพทย์มักแนะนำให้ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดเอ็นยึดข้อมือ เพื่อขยายขนาดช่องข้อมือ ซึ่งช่วยลดแรงกดบริเวณเส้นประสาทมีเดียน
2. โรคปลอกหุ้มอ็นข้อมือ (DE QUER VAIN)
เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจาก การอักเสบของปลอกหุ้มเส้นเอ็นนิ้วหัวแม่มือ บริเวณข้อมือ (โคนนิ้วหัวแม่มือ) ทำให้เกิดอาการบวม อาการปวด และ อาจมีการหนาตัวของเส้นเอ็น ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้ ผู้หญิงพบบ่อยกว่าผู้ชายประมาณ 3-5 เท่า มักพบในผู้หญิงช่วงอายุ 30-50 ปี
สาเหตุ การใช้งานทั่วไปหรืออาชีพที่อาจเป็นสาเหตุได้แก่ การบิดผ้าเปียก,ทำสวน ปลูกต้นไม้,การตอกฆ้อน,การถักไหมพรม,การยกของหนัก,จูงสุนัขเดินเล่น,แม่ลูกอ่อน อุ้มลูก ยกเหยือกชงนม,แม่ครัว ยกกะทะลงจากเตาทุกวัน,พนักงานบริษัท ใช้มือพิมพ์งานซ้ำๆ,นักดนตรี,ช่างไม้
อาการ
-
เจ็บเมื่อมีอาการเคลื่อนไหวนิ้วหัวแม่มือ โดยเฉพาะเมื่อขยับนิ้วโป้งมาที่กลางฝ่ามือ
-
เจ็บเมื่อกดบริเวณเอ็น ใต้รอยต่อข้อมือ ถัดจากโคนนิ้วโป้งลงมา
-
มีการอักเสบของเอ็น หากคลำพบว่ามีผิดหนังร้อน หรือก้อนที่บริเวณข้อมือ
-
กล้ามเนื้อที่ยึดต่อกับเอ็นนั้น อาจมีอาการเกร็ง แข็ง หรืออาจมีการอักเสบ
แนวทางการรักษา
1.วิธีไม่ผ่าตัด
-
หลกเลี่ยงการทำงานที่ต้องเคลื่อนไหวนิ้วหัวแม่มือ ในท่า กางนิ้วออกหรือกระดกนิ้วขึ้น
-
ถ้าปวดมากอาจใช้ผ้ายืดพัน ใส่อุปกรณ์พยุงนิ้วหัแม่มือ หรือ ใส่เฝือกชั่วคราว
-
ประคบด้วยความร้อน หรือ ใช้ยานวดบรรเทาอาการปวด
-
รับประทานยาบรรเทาอาการปวดลดการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ
-
ฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ บริเวณจุดที่กดเจ็บมากที่สุด เพื่อลดอาการอักเสบของเส้นเอ็น ผู้ป่วยมักมีอาการดีขึ้นชั่วคราว (ประมาณ 3-6 เดือน) อาจกลับมาเป็นซ้ำได้
2.วิธีผ่าตัด ข้อบ่งชี้สำหรับการผ่าตัด เช่นมีอาการปวดมาก ฉีดยาสเตียรอยด์ 2 ครั้งใน 1 เดือน แต่อาการไม่ดีขึ้น เป็นต้น
วิธีผ่าตัด
-
ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 10-15 นาที ก็กลับบ้านได้ โดยไม่จำเป็นต้องพักโรงพยาบาล หลังผ่าตัดทำแผลวันละครั้ง ตัดไหมหลังผ่าตัด 7-10 วัน แพทย์ขะนัดมาตรวจทุก 1-2 สัปดาห์ในระยะแรก
ภาวะแทรกซ้อน
-
ที่พบได้ เช่น มีอาการเจ็บบริเวณผ่าตัด หรือ กลับมาเป็นซ้ำ เนื่องจากพังผืดเกิดขึ้นมาใหม่หลังผ่าตัด เกิดเป็นแผลนูน (คีลอยด์) มีโอกาสเกิดอันตรายต่อเส้นประสาทที่มาเลี้ยงผิวหนัง ทำให้มีอาการชา หรือ ปวดแสบปวดร้อน เส้นเอ็นบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือ (ข้อมือ) นูนขึ้นเวลากระดกนิ้วหัวแม่มือ
3.โรคก้อนถุงน้ำของมือและข้อมือ Ganglion
มักพบด้านหลังของข้อมือ ภายในจะเป็นของเหลวมีลักษณะเหนียวข้น ผู้ป่วยักจะไม่มีอาการเจ็บปวด แต่รู้สึกไม่สบายเมื่อเคลื่อนไหว
สาเหตุ ของก้อนถุงน้ำที่ข้อมือนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดแต่เชื่อว่าเกิดจากการบาดเจ็บการใช้ข้อมือเคลื่อนไหว โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวในท่ากระดูกข้อมือเป็นเวลานานถุงน้ำส่วนใหญ่พบในผู้หญิงบ่อยกว่าผู้ชายช่วงอายุ 20-40 ปี
อาการ
-
มีก้อนนูนขึ้นมาลักษณะค่อนข้างแข็ง ผิวเรียบ ส่วนใหญ่กดไม่เจ็บ
-
มีอาการเมื่อย หรือ ปวดข้อมือบ้างเล็กน้อย
-
เคลื่อนไหวข้อไม่สะดวก เนื่องจากก้อนถุงน้ำไปกดเบียดเส้นเอ็น หรือ เยื่อบุข้อ
-
ถ้าปล่อยไว้ก้อนก็มักจะโตขึ้น แต่ก็จะค่อยๆ โตอย่างช้าๆ
การรักษานั้น แบ่งออกเป็น
-
วิธีไม่ผ่าตัด เนื่องจากก้อนถุงน้ำนี้ไม่ใช่เนื้อร้าย หากไม่มีอาการอะไรมากก็ไม่จำเป็นต้องทำอะไรควรลดการใช้ข้อมือ หากมีการเคลื่อนไหวมากก็จะทำให้น้ำใน cyst เพิ่มขึ้น ถ้ามีอาการปวกมากให้รับประทานยาแก้ปวดลดการอักเสบ ใช้ผ้ายืดพันรอบข้อมือ หรือใส่เฝือกอ่อนประมาณ 1 สัปดาห์
-
วิธีกดทำให้ก้อนแตก หรือ วิธีเจาะดูดน้ำในก้อนออก
-
วิธีผ่าตัด ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะการผ่าตัดเลาะถุงน้ำออก ถ้าเลาะไม่หมดหรือรอยเข็มที่เย็บปิดรูรั่ว ก็อาจจะเป็นซ้ำได้ (การรักษาด้วยวิธีผ่าตัดจะมีโอกาสเป็นซ้ำประมาณร้อยละ 5-15)
4.โรคนิ้วล็อก
เกิดจากการอักเสบของเยื่อหุ้มเส้นงอนิ้วที่บริเวณฝ่ามือตรง ตำแหน่งโคนนิ้ว โดยจะเหยียดนิ้วบางนิ้วไม่ออกเหทือนโดนล็อก แต่กำมือ งอนิ้วได้ ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกนิ้ว บางคนอาจเป็นพร้อมกัน 2-3 นิ้ว อาการนิ้วล็อกที่พบบ่อยที่สุดคือ นิ้วหัวแม่มือ และนิ้วนาง ซึ่งจะเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ในช่วงอายุ 40-50 ปี ส่วนใหญ่จะเกิดจากการใช้มือทำงานในลักษณะเกร็งนิ้วบ่อยๆ เช่น การบิดผ้า การหิ้วของหนัก การใช้กรรไกรตัดผ้า เป็นต้น
อาการของโรคแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ
-
ระยะแรก มีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ และจะมีอาการปวดมากขึ้น ถ้าเอานิ้วกดบริเวณฐานนิ้วมือด้านหน้า
-
ระยะที่สอง มีอาการสะดุด (triggering) เวลาขยับนิ้ว งอ และเหยียดนิ้ว จะมีการสะดุดจนรู้สึกได้
-
ระยะที่สาม มีอาการติดล็อกโดยเมื่องอนิ้วลงไปแล้ว จะติดล็อกจนไม่สามรถเหยียดนิ้วออกเองได้ ต้องเอามืออีกข้างมาช่วยเหยียด
-
ระยะที่สี่ มีอาการอักเสบบวมมาก จนนิ้วติดอยู่นท่างอ ไม่สามารถเหยียดให้ตรงได้ ถึงแม้ว่าจะให้มืออีกข้างนึงมาช่วยเหยียดก็ตาม
การรักษาที่ดีที่สุด
คือการผ่าตัด โดยการตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่หนาอยู่ให้เปิดกว้าง เพื่อให้เส้นเอ็นเคลื่อนผ่านได้สะดวก ม่ติดขัด หลังผ่าตัดเสร็จก็กลับบ้านได้ ส่วนการผ่าตัดโดยใช้เข็มเขี่ย ยังไม่เป็นวิธีรักษาที่มาตราฐาน เนื่องจากอาจมีผลข้างเคียงทำให้เกิดการบาดเจ็บของเส้นเอ็นและเส้นประสาทได้
กลุ่มคนที่เสี่ยงต่อเอ็นข้อมืออักเสบ
-
กลุ่มคนทำงาน,ผู้ที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์
-
กลุ่มคนที่ใช้มือทำงานบ่อยๆ ซ้ำๆ และข้อมูลอยู่ในท่าที่ไม่ถูกต้อง
-
ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid)
-
ผู้หญิงตั้งครรภ์
