ภาษา

บทความเพื่อสุขภาพ

ค้นหาบทความ

ไวรัสอีโบลา

โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา เป็นโรคติดเชื้อไวรัสชนิดเฉียบพลันรุนแรง เกิดจากเชื้อไวรัสอีโบลา (Ebola virus) ประกอบด้วย 5 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ไอวอรีโคสต์ สายพันธุ์ซูดาน สายพันธุ์ซาร์อี สายพันธุ์เรสตัน (Reston)และสายพันธุ์Bundibugyo

การติดต่อ

ติดต่อจากคนสู่คน เกิดจากการสัมผัสตรงกับเลือดที่ติดเชื้อสารคัดหลั่ง เช่น นํ้ามูก นํ้าลาย ปัสสาวะอุจจาระ อวัยวะ หรือนํ้าอสุจิ นอกจากนี้การติดเชื้อในโรงพยาบาล ก็พบได้บ่อยผ่านทางเข็มและหลอดฉีดยาที่ปนเปื้อนเชื้อ และยังพบการแพร่กระจายเชื้ออีโบลาในพิธีศพได้บ่อย เนื่องจากผู้มาร่วมพิธีศพอาจมีการสัมผัสโดยตรงกับร่างกายของผู้เสียชีวิต สำ หรับการติดต่อของเชื้อไวรัสอีโบลาสู่คนเกิดจากการสัมผัสโดยตรงกับเลือดหรือเครื่องในของสัตว์ป่าที่ติดเชื้อ หรือเกิดขณะจัดการหรือชำแหละสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ตาย โดยยังไม่พบรายงานจากการติดเชื้อผ่านทางละอองฝอยที่ลอยในอากาศ

อาการ

โรคอีโบลาเป็นโรคเฉียบพลันรุนแรงจากเชื้อไวรัสโดยมากมักจะแสดงออกเป็นไข้เฉียบพลัน อ่อนเพลียมากปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะและเจ็บคอ ตามด้วยอาการอาเจียน ท้องเสีย ผื่นผิวหนัง ไตและตับทํางานบกพร่องและในบางรายจะพบการตกเลือดทั้งภายในและภายนอกและเสียชีวิต ผู้ป่วยจะยังอยู่ในระยะติดต่อ คือ ยังสามารถแพร่เชื้อได้ตราบเท่าที่เลือดและสิ่งคัดหลั่งของตนยังมีเชื้อไวรัสระยะฟักตัวของโรคซึ่งหมายถึงระยะเวลานับจากการเริ่มติดเชื้อไวรัสจนถึงเมื่อเริ่มแสดงอาการ ได้แก่ 2 ถึง 21 วัน

วัคซีนและยารักษา

ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคอีโบลา และยารักษาจำเพาะ ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาวิจัย ผู้ป่วยที่อาการรุนแรงจําเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาแบบประคับประคองอย่างเข้มงวด ผู้ป่วยมักจะมีอาการขาดนํ้าบ่อยๆ จึงจําเป็นต้องได้สารละลายเกลือแร่เพื่อแก้ไขอาการขาดนํ้าโดยอาจให้ทางปาก หรือทางเส้นเลือด

สำหรับผู้ที่เดินทางไปต่างประเทศ

สิ่งที่ควรทำ

1. หลีกเลี่ยงหรือชะลอการเดินทางไปในประเทศที่มีการระบาด(ในขณะนี้มี3 ประเทศได้แก่ กินี ไลบีเรียและเซียร์ร่าเลโอน และอาจเพิ่มตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข)

2. ติดตามข้อมูลข่าวสารที่เป็นทางการจากกระทรวงสาธารณสุข

3. หากจำเป็นต้องเดินทางไปประเทศที่มีการระบาด ต้อง

    • หมั่นล้างมือ ด้วยนํ้าและสบู่ให้สะอาด

    • หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดผู้ป่วย หรือสัมผัสผู้ป่วยรวมเสื้อผ้า เครื่องใช้ของผู้ป่วย

    • หากมีอาการป่วย เช่น ไข้สูง อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ เจ็บคอ อาเจียนท้องเสียและมีผื่นนูนแดงตามตัวรีบพบแพทย์ทันที และแจ้งประวัติการเดินทาง

สิ่งที่ ไม่ควรทำ (สำหรับผู้เดินทางไปประเทศที่มีการระบาด)

1. ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ป่าทุกชนิด

2. ไม่สัมผัสสัตว์ป่าทุกชนิดโดยเฉพาะสัตว์จำ พวกลิงหรือค้างคาว

3. ไม่ล้วงแคะแกะเกาจมูก และขยี้ตา ด้วยมือที่ยังไม่ได้ล้างให้สะอาด

4. ไม่มีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่ใช่คู่นอนหรือคู่รัก

5. ไม่ซื้อยากินเอง เวลาเจ็บป่วยด้วยอาการไข้

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

ด้วยความปรารถนาดีจาก โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ บางแค