ภาษา

บทความเพื่อสุขภาพ

ค้นหาบทความ

ตรวจแบบไหน ถึงเหมาะกับ “หัวใจ” ของคุณ

ตรวจแบบไหน ถึงเหมาะกับ “หัวใจ” ของคุณ

❤️การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกายด้วยการเดินสายพาน (Exercise Stress Test : EST)

เป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัยภาวะหัวใจขาดเลือดขณะออกกำลังกาย โดยการให้ผู้ป่วยเดินบนสายพาน และทำการต่อขั้วไฟฟ้าเข้ากับหน้าอก ขณะที่ผู้ป่วยออกกำลังกายแพทย์จะสังเกตการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และการตอบสนองที่ผิดปกติ เช่น หายใจลำบาก , เจ็บแน่นหน้าอก , หัวใจเต้นผิดปกติ หากมีอาการเหล่านี้อาจบ่งชี้ว่ามีการขาดเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจในระหว่างการออกกำลังกาย

❤️การตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูง(Echocardiogram : ECHO)

เป็นการตรวจวัดประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ เช่น การบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ , ขนาดของห้องหัวใจ , การไหลเวียนเลือดในหัวใจโดยการใช้คลื่นความถี่สูง แพทย์จะส่งคลื่นความถี่สูงที่ปลอดภัยต่อร่างกายเข้าไปในบริเวณทรวงอก เมื่อคลื่นความถี่สูงผ่านอวัยวะต่าง ๆ จะเกิดสัญญาณสะท้อนกลับ คอมพิวเตอร์จะประมวลสัญญาณนี้ออกมาเป็นภาพให้เห็นถึงการทำงานของหัวใจ สามารถใช้วินิจฉัยโรคหัวใจแต่กำเนิด , โรคลิ้นหัวใจพิการ , โรคกล้ามเนื้อหัวใจพิการ , โรคของเยื่อหุ้มหัวใจ เป็นต้น

❤️การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)

เป็นการตรวจกระแสไฟฟ้าและจังหวะการเต้นของหัวใจ โดยปกติแล้วหัวใจจะปล่อยไฟฟ้าออกมาเป็นจังหวะ เพื่อให้กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัว การตรวจ EKG ทำได้โดยการติดตัวรับกระแสไฟฟ้ามาติดตามตำแหน่งต่าง ๆ เช่น แขน , ขา , ข้อมือ , ข้อเท้า และหน้าอก ประมาณ 10 จุด จากนั้นเครื่องจะประมวลผลออกมาเป็นกราฟหัวใจให้เห็น สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับหัวใจ เช่น จังหวะการเต้น , ความสม่ำเสมอ , การนำไฟฟ้าในหัวใจ , ชนิดของการเต้นผิดจังหวะ , ภาวะหัวใจโต , กล้ามเนื้อหัวใจตาย , กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด , ความผิดปกติของระดับเกลือแร่บางชนิด เป็นต้น