ภาษา

บทความเพื่อสุขภาพ

ค้นหาบทความ

7 วิธีลดความเสี่ยง “โรคไขมันพอกตับ”

 
7 วิธีลดความเสี่ยง “โรคไขมันพอกตับ”
 
       ไขมันพอกตับ (Fatty Liver Disease) คือภาวะที่ไขมันเข้าไปแทรกที่เซลล์ของตับ ซึ่งหากสะสมมากกว่า 5-10% ของน้ำหนักตับ จะถือว่าเป็นภาวะไขมันพอกตับ ทำให้ตับเกิดการอักเสบ หรือเซลล์ตับตาย และเกิดพังผืดภายในตับ จนกลายเป็นโรคตับแข็งในที่สุด ซึ่งหากอาการของโรคดำเนินไปจนถึงภาวะตับแข็ง จะไม่สามารถรักษาได้ด้วยยาหรือวิธีทางการแพทย์ใด ๆ ทำได้เพียงควบคุมอาการและลดปริมาณไขมันในตับลงโดยการดูแลสุขภาพมากขึ้นตามคำแนะนำของแพทย์
 
สาเหตุของโรคไขมันพอกตับ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
✅จากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์   ซึ่งความรุนแรงของโรคจะขึ้นกับประเภท ปริมาณ และระยะเวลาที่ดื่มแอลกอฮอล์
✅จากปัจจัยเสี่ยงอื่น เช่น
     ▪️กลุ่มโรคที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานของร่างกาย เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง  โรคไขมันในเลือดสูง 
     ▪️การรับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูงเป็นประจำ เช่น แป้ง น้ำตาล ไขมัน
     ▪️ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาเคมีบำบัดรักษาโรคมะเร็ง ยาปฏิชีวนะบางชนิด ยาต้านไวรัสบางชนิด ยากลุ่มสเตียรอยด์ ยากลุ่มต้านฮอร์โมน
 
วิธีป้องกันและลดความเสี่ยงจากโรคไขมันพอกตับ ได้แก่
1️⃣หากมีน้ำหนักตัวมาก ควรลดน้ำหนักโดยให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย โดยเกณฑ์การลดน้ำหนักควรอยู่ที่ 1 - 2 กิโลกรัมต่อ 1 เดือน
 
2️⃣ควรออกกำลังกายแบบแอโรบิค, เดิน, วิ่ง, ปั่นจักรยาน เป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน ครั้งละ 30 นาที 
 
3️⃣รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่มีไขมันต่ำ กากใยสูง และให้พลังงานต่ำ
 
4️⃣หากเป็นเบาหวานหรือไขมันในเลือดสูง ควรควบคุมโรคให้ดีด้วยการรับประทานยาตามแพทย์สั่ง ควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย
 
5️⃣หลีกเลี่ยงการรับประทานยา หรือ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่นอกเหนือจากแพทย์สั่ง
 
6️⃣หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
 
7️⃣ตรวจสุขภาพเป็นประจำ
 
_____________________________
 
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ แผนกอายุรกรรม 
โทร. 02-339-0000 ต่อ  2050 -2052
line@ : @kasemrad-ram
website : www.kasemrad.co.th/Ramkhamhaeng
IG: kasemrad_ram