ภาษา

บทความเพื่อสุขภาพ

ค้นหาบทความ

การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม..ควรตรวจเมื่อใด และบ่อยแค่ไหน?

มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ในผู้หญิงไทย สาวๆ ทุกคนควรตรวจเช็คเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำเพื่อที่จะทราบตั้งแต่เนิ่นๆ ว่าเราเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่ เพราะการตรวจพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น จะช่วยให้ไม่ลุกลามไปยังอวัยวะอื่น และสามารถทำการรักษาให้หายได้
การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม..ควรตรวจเมื่อใด และบ่อยแค่ไหน?
-ตรวจเต้านมด้วยตนเอง อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เมื่ออายุ 20 ปี ขึ้นไป
-ตรวจเต้านมโดยแพทย์ เมื่ออายุ 20 ปีขึ้นไป ควรรับการตรวจทุก 3 ปี และหลังจากอายุ 40 ปี ควรได้รับการตรวจทุก 1 ปี
-ควรทำแมมโมแกรม และ/หรือ อัลตราซาวน์ ในช่วงอายุ 35- 40 ปี 1 ครั้ง หลังจากอายุ 40 ปี เป็นต้นไป ควรทำทุก 1 – 2 ปี
-ในผู้ที่มีประวัติญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งรังไข่ ควรเริ่มทำการตรวจตั้งแต่อายุที่ญาติเป็น ลบออก 5 ปี
-ในรายที่มีความเสี่ยงสูง หรือเต้านมมีความหนาแน่นมาก การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) จะช่วยให้มีการค้นพบมะเร็งได้มากขึ้นกว่าการทำแมมโมแกรม การตัดสินใจว่าจะตรวจหรือไม่ ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง
สัญญาณเตือนต้องพบแพทย์หากตรวจเช็กเต้านมด้วยตนเองแล้วพบอาการผิดปกติดังต่อไปนี้ควรรีบมาพบแพทย์
ก้อนหรือไตแข็งผิดปกติ
หัวนมดึงรั้งผิดปกติ
มีเลือดหรือน้ำเหลืองไหลจากหัวนม
เต้านมมีขนาดและรูปร่างผิดปกติ
แม้มะเร็งเต้านมจะพบบ่อยในผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะในผู้หญิงที่ไม่มีบุตร มีบุตรช้า และมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม ผู้หญิงทุกคนก็ไม่ควรนิ่งนอนใจและควรตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำ
 
Hospital you can trust
โรงพยาบาลที่คุณวางใจ