บทความเพื่อสุขภาพ

ค้นหาบทความ

โรคหลอดเลือดหัวใจ
 
 
 
โรคหลอดเลือดหัวใจเกิดขึ้นได้อย่างไร
 
   สาเหตุของโรคหลอดหัวใจ คือ การมีไขมันจับที่ผนังของหลอดเลือดหัวใจที่เรียกว่า พลาค (Plaque) จึงส่งผลให้ผนังหลอดเลือด แข็ง หนา ช่องในหลอดเลือดจึงตีบแคบลง และเมื่อพลาคนี้ก่อให้เกิดการอักเสบของผนังหลอดเลือดหรือ ผนังหลอดเลือดบาดเจ็บเสียหาย ร่างกายจะซ่อมแซมผนังส่วนเสียหายโดยมีการจับตัวเป็นก้อนของเกล็ดเลือด และเม็ดเลือดขาว จึงยิ่งส่งผลให้ช่องในหลอดเลือดตีบแคบลงอีก เลือดจึงหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจลดลง จึงเกิดเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และบ่อยครั้ง การซ่อมแซมจากร่างกายนี้ก่อให้หลอดเลือดอุดตัน จึงสส่งผลให้เกิด กล้ามเนื้อหัวใจตาย สาเหตุจากการขาดเลือด ซึ่งอาจเกิดได้อย่างเฉียบพลัน และเมื่อรุนแรงจะเป็นสาเหตุให้เกิดอาการหัวใจวาย เสียชีวิตได้ทันที นอกจากนั้น หลอดเลือดหัวใจ ยังสามารถบีบหดตัวได้ ดังนั้นเมื่อมีการหดตัวของหลอดเลือด จึงส่งผลให้รูท่อหลอดเลือดตีบแคบลง จึงเปิดภาวะหัวใจขาดเลือดได้ เช่น จากภาวะมีความเครียดสูง เป็นต้น
 
โรคหลอดเลือดหัวใจมีปัจจัยเสี่ยงไหม
 
ปัจจัยเสี่ยง หรือ กลุ่มเสี่ยง ต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้แก่
มีไขมัน
โรคเบาหวาน เพราะเป็นปัจจัยเสี่ยงให้หลอดเลือดอักเสบ
โรคความดันโลหิตสูง จากผนังหลอดเลือดแข็งตัวและมักเกิดร่วมกับโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น เบาหวาน และไขมันในเลือดสูง
สูบบุหรี่ เพราะสารพิษในควันบุหรี่ ทำลายเซลล์ของหลอดเลือดโดยตรง ก่อให้หลอดเลือดแข็งตัวและยังทำลายเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจวาย
ขาดการออกกำลังกาย เพราะเป็นสาเหตุให้เกิด โรคอ้วน
อ้วน เพราะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดสูง
กินอาหารไม่มีประโยชน์ และกินอาหารไขมันสูง จึงมีผลต่อสุขภาพของเซลล์ต่างๆทั่วร่างกาย รวมทั้งของหลอดเลือดหัวใจ
ความเครียดอาจส่งผลให้หลอดเลือดต่างๆโดยเฉพาะหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง ช่องในหลอดเลือดจึงตีบแคบ กล้ามเนื้อหัวใจและเซลล์สมองหดได้
พันธุกรรม หากพบคนในครอบครัวสายตรงมีประวัติเป็นโรคนี้
 
 
 
 
โรคหลอดเลือดหัวใจมีอาการอย่างไร
 
เหนื่อยง่ายหัวใจเต้นเร็ว
เจ็บแน่นหน้าอกเหมือนมีอะไรมาบีบรัด หรือ มีของหนักทับอกอยู่อาจมีอาการร้าวไปที่ไหลซ้าย และแขนซ้ายได้ เมื่อใช้กำลังหรือเมื่อมีความเครียด
เหงื่อออกท่วมตัว ตัวเย็น
 
แพทย์วินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจได้อย่างไร?
 
         ได้จากประวัติอาการประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว ตรวจร่างกาย ตรวจวัดความดันโลหิต,ตรวจไขมันในเลือด,ตรวจภาพหัวใจ และปอดด้วยเอกซเรย์, ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ อาจะทั้งในภาวะปกติ และในภาวะออกกำลังกาย อาจตรวจภาพหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง (Echocardiogram) อาจตรวจภาพหลอดเลือดหัวใจด้วยการใส่สายสวนและอาจมีการตรวจอื่นๆ เพิ่มเติม ทั้งนี้ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์
 
รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจได้อย่างไร
 
   แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ คือ ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต (เรื่องกิน ออกกำลังกาย และสุขภาพจิต),ดูแลรักษาควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง,กินยาขยายหลอดเลือดหัวใจ,กินยาต้านการแข็งตัวของเลือด,กินยาลดไขมันในเลือด,อาจขยายหลอดเลือดด้วยเทคนิคต่างๆ และอาจเป็นการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ (โรคหัวใจการซ่อมรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบ) ทั้งนี้ ขึ้นกับความรุนแรงของโรคและดุลพินิจของแพทย์
 
การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
 
ปฏิบัติตามแพทย์/พยาบาลแนะนำ
กินยาต่างๆตามแพทย์แนะนำให้ครบถ้วน ถูกต้อง ไม่ขาดยา
จำกัดอาหารไขมันทุกชนิด โดยเฉพาะไขมันจากสัตว์
ออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสุขภาพแต่สม่ำเสมอ
รักษาสุขภาพกาย สุขภาพจิต ด้วยการรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อร่างกาย แข็งแรง และมีสุขภาพจิตที่ดีลดความเครียด
พบแพทย์ตรงตามนัดเสมอ และรีบพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อมีอาการผิดปกติไปจากเดิม
พบแพทย์เป็นการฉุกเฉินเมื่อ
 - เจ็บแน่นหน้าอกมาก อาจเจ็บร้าวขึ้น ขากรรไกร ไปยังหัวไหล่ แขน ซ้าย
 - เหนื่อย หายใจขัด นอนราบไม่ได้
 - ชีพจรเต้นอ่อน เต้นเร็ว เหงื่อออกมาก วิงเวียนจะเป็นลม
 - หยุดหายใจ
 
 
วิธีป้องกันโรคหลอดเลือดที่สำคัญ ได้แก่
 
ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยการออกกำลังกายตามสุขภาพจำกัดอาหารไขมัน กินอาหารมีประโยชน์ควบคุมน้ำหนัก ควบคุมโรคต่างๆที่เป็นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง และรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน
ตรวจสุขภาพประจำปีสม่ำเสมอ เริ่มเมื่อ อายุ 18-20 ปี
ปรึกษาแพทย์เสมอเมื่อมีความกังวล ในอาคาร หรือสงสัยในสุขภาพของตนเอง
 
“โรคหลอดเลือดหัวใจรุนแรงไหม?”
    “รักษาหายไหม” 
 “โรคหลอดเลือดหัวใจจัดเป็นโรคเรื้อรัง และรุนแรง เป็นสาเหตุให้เกิดทั้งความพิการ และเสียชีวิต คุณภาพชีวิตลดลง ต้องจำกัดการออกแรงจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือ กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือเกิดโรคหัวใจวาย หรือ โรคหัวใจล้มเหลว”