บทความเพื่อสุขภาพ

ค้นหาบทความ

โรคเบาหวานคืออะไร?
โรคเบาหวานคืออะไร?
 
โรคเบาหวานเป็นภาวะที่มีความผิดปกติในการควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกาย ทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดสูงถึงระดับหนึ่งจะมีน้ำตาลออกมาในปัสสาวะ จึงเรียกโรคนี้ว่า เบาหวาน
เบาหวานมีกี่ประเภท
 
 
 
เบาหวานแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
 
1. เบาหวานที่ต้องพึ่งอินซูลิน เกิดจากตับอ่อนสร้างอินซูลินไม่ได้เลย มักเป็นกับเด็ก (อายุน้อยกว่า 30 ปี) เมื่อเป็นอาจมีอาการรุนแรงและเป็นกระทันหัน ผู้ที่เป็นส่วนใหญ่จะผอมการรักษานั้นต้องรักษาด้วยการฉีดอินซูลิน ตั้งแต่ทราบว่าเป็นเบาหวาน
2. เบาหวานที่ไม่ต้องพึ่งอินซูลิน เกิดจากตับอ่อนสร้างอินซูลินได้น้อย หรือร่างกายมีการดื้อต่อฤทธิ์ของอินซูลิน มักพบในผู้ใหญ่ อายุมากกว่า 40 ปี ผู้ที่เป็นมักอ้วน ส่วนการรักษา แพทย์จะรักษาให้ยารับทาน หรือร่วมกับการฉีดอินซูลิน
 
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยเบาหวาน
 
1. อาการที่เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงๆ ผู้ป่วยมักจะปัสสาวะบ่อย หิวน้ำบ่อย น้ำหนักลดลง ถ้าระดับน้ำตาลมีสูงมากๆ อาจทำให้ซึมหรือชักได้
2. ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรัง เกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดที่สูงนานๆ จะทำให้เกิดโรคแทรกได้หลายระบบได้แก่
2.1 โรคตาจากเบาหวาน เช่น ต้อกระจก ต้อหิน เส้นเลือดแตกในจอตา ทำให้มีอาการตามัว มองไม่เห็นหรือเห็นภาพซ้อนได้
2.2 โรคไตจากเบาหวาน
2.3 โรคอาการทางประสาท เช่น อาการชาปลายมือ เท้า ปวดแสบปวดร้อน
2.4 การแข็งตัวของเส้นเลือดใหญ่ๆ และการอุดตันในเส้นเลือดขึ้นกับตำแหน่งของเส้นเลือดนั้นๆ เช่น เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง ทำให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต เส้นเลอดที่หัวใจทำให้เกิดหัวใจขาดเลือดเจ็บหน้าอก
 
จะทำอย่างไรเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน
 
เนื่องจากภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน เกิดจากการที่มีระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงมานาน การที่เราสามารถวินิจฉัยและเริ่มทำการรักษาแต่เริ่มแรกและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคืองปกติมากที่สุด ก็จะสามารถป้องกันหรือทำให้ภาะแทรกซ้อนดังกลาวเกิดขึ้นช้าลงได้
บุคคลใดที่ควรได้รับการตรวจว่าเป็นโรคเบาหวานหรือไม่
1.  กลุ่มที่มีอาการที่ทำให้สงสัยว่าเป็นเบาหวาน เช่นปัสสาวะบ่อย หิวน้ำบ่อย น้ำหนักตัวลดลง มีแผลที่เท้าเรื้อรัง
2.  กลุุ่มที่ยังไม่มีอาการ แต่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจจะเป็นเบาหวานได้สูง เช่น คนอ้วน ญาติของบุคคลที่เป็นหวานหวาน (พ่อ แม่ พี่ น้อง),หญิงตั้งครรภ์ที่อายุมาก,เคยคลอดบุตรตัวโตคลอดบุตรตายคลอด,บุคคลที่มีความดันโลหิตสูง,ไขมันในเลือดสูง,โรคหัวใจขาดเลือด,บุคคลที่มีอายุมากกว่า 35 ปี คนที่ดื่มสุราเป็นประจำ สุราจะทำให้ตับอ่อนเสื่อมสมรรถภาพ,ผู้ที่ได้รับยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ, ยาแก้อักเสบประเภทสเตียรอยด์ ฮอร์โมนบางอย่าง รวมทั้งยาคุมกำเนิด
 
    จุดมุ่งหมายในการรักษาโรคเบาหวาน
 
1. เพื่อให้ผู้ป่วยมีอายุยืนยาวเท่ากับคนทั่วไป
2. บำบัดอาการต่างๆตลอดจนภาวะแทรกซ้อน
3. การควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกต
4. รักษาระดับน้ำตาล ไขมัน ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
5. ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน
 
หลักเกณฑ์ในการรักษาผู้ป่วยเบาหวาน
 
1. รับประทานอาหารที่เหมาะสม และควบคุมน้ำหนักตัวให้ปกติแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
 - กลุ่มแรก ควรหลีกเลี่ยงไม่ควรรับประทานเลย ได้แก่อาหารที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบโดยตรง เช่น น้ำอัดลม น้ำตาล น้ำผึ้ง ขนมหวานทุกชนิดขนมขบเคี้ยวผลไม้กระป๋อง เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์ ผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน น้อยหน่า ลำไย มะม่วงสุก ขนุน ละมุด
- กลุ่มสอง จะต้องลดจำนวนลง เพราะถ้ารับประทานมากๆทำให้น้ำตาลสูงได้ ได้แก่ อาหารประเภทแป้ง เช่น ก๋วยเต๋ยว บะหมี่ ขนมปัง ขนมจีน เผือกมัน ข้าวเหนียวอาหารไขมัน เช่น น้ำมัน เครื่องในสัตว์ หนังสัตว์ กระดูกสัตว์ นม เนย ครีม มะพร้าว ผลไม้ที่มีรสหวานอ่อนๆ เช่น ส้ม ชมพู่ สับประรดแตงโม ฝรั่ง พุทรา มังคุด มะละกอ เงาะ กล้วย
- กลุ่มสาม สามารถรับประทานได้ไม่จำกัด เช่น น้ำหรือเครื่องดื่มที่ไม่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ เช่น Diet Coke, Pepsi Max, นมจืด, ผักทุกชนิด ยกเว้น ฟักทอง, สะตอ,สะเดา, มะรุม ซึ่งรับประทานได้พอควร
2. การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายยมีผลดีอย่างไรบ้าง?
1. ทำให้ระดับน้ำตาลควบคุมได้ดีขึ้น และอาจทำให้ได้ยาฉีด หรือยากินน้อยลงได้
2. ทำให้ช่วยลดน้ำหนัก
3. ช่วยลดภาวะความดันโลหิตสูง และอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ
 
ข้อควรระวังในการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวาน
 
1.  อาจจจะทำให้ระดับน้ำตาลต่ำ ในผู้ที่ควบคุมน้ำตาลได้ปกติหรือค่อนข้างต่ำอยู่แล้ว ในทางตรงกันข้ามในผู้ป่วยที่ควบคุมเบาหวานได้ไม่ดีในทางตรงกันข้ามในผู้ป่วยที่ควบคุมเบาหวานได้ไม่ดี อาจทำให้ระดับน้ำตาลสูงขึ้นได้
2. ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีโรคเส้นเลือดหัวใจตีบอยู่เดิมการออกกำลังกายควรอยู่ในการดูแลของแพทย์
เพราะอาจเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน หรือเต้นผิดจังหวะได้
3. ผู้ป่วยที่มีข้อเข่าเสื่อมอยู่ การออกกำลังกายผิดประเภทอาจทำให้ข้อเสื่อมมากขึ้นได้ 
4. ผู้ป่วยที่มีเส้นเลือดผิดปกติในจอภาพของตา การออกกำลังกายอาจทำให้เส้นเลือดในจอตาแตก ทำให้ตามัวลงได้
5. ผู้ป่วยที่มีอาการชาของเท้าอยู่เดิม อาจได้รับการกระทบเทือนจนเกิดแผลที่เท้าโดยไม่รู้ตัวได้
 
3. การควบคุมน้ำตาลด้วยยาเบาหวานชนิดรับประทานควรรับประทานยาสม่ำเสมอตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาลเภสัชกร
4. การฉีดยาอินซูลิน
จะใช้ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 บางรายที่ใช้ยารับประทานแล้ว ไม่ได้ผลการฉีดยาเบาหวาน ควรฉีดก่อนอาหารประมาณ 30 นาที ถ้าฉีดก่อนอาหารนานเกินไป ผู้ป่วยอาจจะมีอาการของน้ำตาลต่ำถ้าฉีดหลังอาหารจะไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี
 
   การเก็บยาฉีด ควรเก็บในตู้เย็น และดูวันที่หมดอายุระบุไว้ข้างขวด  ตำแหน่งที่สามารถฉีดยาได้ คือ หน้้าท้อง ต้นแขน ต้นขา ควรเปลี่ยนตำแหน่งที่ฉีดยาไปเรื่อยๆ ไม่ควรฉีดซ้ำที่ใดที่หนึ่งนานๆ