บทความเพื่อสุขภาพ

ค้นหาบทความ

การป้องกันวัณโรคโดยทั่วไป
 
เชื้อวัณโรค (Mycobacterium tuberculosis)
 
เป็นเชื้อแบคทีเรียขนาดเล็กมากประมาณ 1-5 ไมครอน ระยะฟักตัวประมาณ 4-5 สัปดาห์ แสงอาทิตย์ทำลายเชื้อโรคได้ภายใน 5 นาที ความร้อน 60-70 องศาเซลเซียส ภายในเวลา 20 และ 5 นาที
 
วิธีการป้องกันแพร่กระจายเชื้อโรค
 
แบ่งเป็น 4 กลุ่ม
1. การป้องกันวัณโรคโดยทั่วไป
1.1 ลดการแพร่กระจายเชื้อจากผู้ป่วยโดย
- หลีกเลี่ยงการรับผู้ป่วยวัณโรคปอดระยะแพร่เชื้อในโรงพยาบาล
- สืบค้นโรคโดยเร็วที่สุด โดยตรวจภาพรังสีอก ตรวจเสมหะ
- วินัจฉัยว่าเป็นวัณโรคให้รักษาด้วยยาเร็วที่สุด
- ผู้ป่วยระยะแพร่เชื้อ (พบเชื้อในเสมหะ) ให้แยกห้องจนกว่าจะได้รับการรักษาจนพ้นระยะแพร่เชื้อ             
  (2 สัปดาห์)
- ให้ผู้ป่วยใช้ผ้าเช็ดหน้า หรือกระดาษเช็ดหน้าปิดปาก-จมูกทุกครั้งที่ไอ
- ให้ผู้ป่วยผูกผ้าปาก-จมูก (Mask) ไว้ตลอด
1.2 การลดเชื้อวัณโรคในสถานพยาบาล
- สถานพยาบาลอากาศถ่ายเทดี (Negative Pressure)
- ให้ผู้ป่วยบ้วนเสมหะลงในภาชนะที่มีฝาปิด และมีน้ำยาทำลายเชื้ออยู่ (0.5% Hypochlorite)
- เครื่องมือเครื่องใช้ที่อาจจะปนเปื้อนเชื้อทำความสะอาดทำลายเชื้อด้วยน้ำยา ทำให้ปราศจากเชื้ออย่างถูกต้อง
- ทำความสะอาดพื้น ให้ใช้ Wet mop
- จัดห้องแยกพิเศษสำหรับผู้ป่วยในระยะติดต่อ (Negative Pressure) หรืออากาศถ่ายเทดี (มีระเบียง)
2. การป้องกันวัณโรคสำหรับผู้ป่วย
- หลีกเลี่ยงการรับผู้ป่วยเข้าไว้ในโรงพยาบาล และรีบจำหน่ายเมื่อหมดความจำเป็น
- ผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรคสูง ได้แก่ ผู้ป่วยเอดส์มะเร็ง,ขาดอาหารอย่างรุนแรง ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ได้รับการรักษารังสี ฯลฯ ไม่ควรอยู่ในห้องรวม และควรได้รับการพิจารณาให้ยาป้องกันโรคเป็นรายๆ
3. การป้องกันวัณโรคสำหรับบุคคลากร
3.1 ตรวจสุขภาพ
      - ก่อนเข้าปฏิบัติงาน
     - ตรวจสุขภาพประจำปีในกลุ่มที่มีความเสี่ยง
3.3 การดูแลสุขภาพสำหรับผู้ติดเชื้อวัณโรค ให้หยุดพักงานอย่างน้อย 2 สัปดาห์
3.4 ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันโรคน้อย เช่น เป็นมะเร็ง ไม่ควรปฏิบัติงานในหอผู้ป่วย หรือหน่วยงานที่มีความเสี่ยงสูง
4. การป้องกันในห่วยงานที่มีความเสี่ยงสูง
สถานที่
1. ทำความสะอาดหน้ากากเครื่องปรับอากาศสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
     -  ติดตั้งแอร์ระบบ Hiper filter
     -  ห้องปฏิบัติการมีระบบ Biosafety Cabinet Class 2 หรือ 3
2. แนะนำหรือสอนผู้ป่วยปิดปาก-จมูกด้วยผ้าขณะไอผู้ป่วยระยะแพร่เชื้อ ควรผูกปิดปาก-จมูกด้วยผ้าขณะไอ
3. การป้องกันการสูดดมเชื้อวัณโรคเข้าปอด โดยการสวมเครื่องปิดปาก-จมูกชนิดพิเศษที่สามารถรองเชื้อโรคได้ ตัวอย่างเช่น การทำ Brochoscopy
4.  ทำความสะอาด Wet mop หากเสมหะหล่อน, หกให้ใช้ 0.5%  Hypochlorite ให้ทั่ว ทิ้งไว้ 30 นี (เน้าใช้อุปกรณ์ป้องกัน)
 
 
เอกสารอ้างอิง : การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในสถานพยาบาล : ชมรมควบคุมโรคติดเชื้อใน ร.พ. แห่งประเทศไทย ชั้น 4 ร.พ. ศิริราช