ภาษา

ศูนย์บริการทางการแพทย์

ศูนย์หัวใจ

ศูนย์หัวใจ

ข้อมูลทั่วไป

ให้บริการตั้งแต่การตรวจวินิจฉัยในระยะเริ่มต้น การรักษา ป้องกัน ตลอดจนการฟื้นฟูสมรรถภาพโรคหัวใจและระบบหลอดเลือดอย่างครบวงจร โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วยแพทย์อายุรกรรมหัวใจ ศัลยแพทย์หัวใจ กุมารแพทย์โรคหัวใจ ร่วมด้วยทีมพยาบาลผู้ชำนาญการในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจโดยเฉพาะและบุคลากรด้านการปฐมพยาบาลฉุกเฉิน ประจำตลอด 24 ชั่วโมง ร่วมด้วยเภสัชกร นักกายภาพบำบัด นักกำหนดอาหาร ครบครันด้วยอุปกรณ์ เครื่องมือทางการแพทย์ และการใช้เทคโนโลยีรังสีวิทยาในการวินิจฉัยโรคเพื่อให้การตรวจรักษามีความแม่นยำในทุกขั้นตอน
การวินิจฉัยโรคหัวใจ

การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการเดินสายพาน ( EXERCISE STRESS TEST ; EST ) การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการเดินสายพานเป็นการบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกายด้วยการเดินสายพาน

ทำไมจึงต้องตรวจ

ในภาวะปกติหรือขณะพักของผู้ที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ มักจะแสดงอาการผิดปกติใดๆการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ผลการตรวจก็มักจะปกติด้วย เนื่องจากเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจแต่เมื่อมีการออกกำลังกายหรือออกแรงมากกว่าภาวะปกติ กล้ามเนื้อหัวใจจะมีความต้องการเลือดไปหล่อเลี้ยงเพิ่มขึ้นด้วยบริเวณที่เส้นเลือดตีบจะไม่สามารถขยายตัวส่งเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้เพียงพอจึงทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดขึ้น ได้แก่ อาการเจ็บหน้าอก เหนื่อยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงผิดปกติให้เห็นได้เมื่อใดที่ควรตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วย การเดินสายพาน
- มีอาการเหนื่อยง่ายกว่าปกติ
- มีปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
- ต้องดูการตอบสนองของความดันโลหิตต่อการออกกำลังกาย
- ดูว่ามีจังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติในขณะออกกำลังกายหรือไม่
- เพื่อบอกความรุนแรงของโรคในรายที่เป็นโรคหัวใจอยู่แล้ว
- เพื่อตรวจภายหลังการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน

การเตรียมตัวก่อนมาตรวจ

1. งดน้ำและอาหาร ชา กาแฟ อย่างน้อย 2-3 ชม.ก่อนทำการตรวจ เพื่อป้องกันอาการจุกเสียดหรือคลื่นไส้อาเจียนจากการรับประทานอาหารอิ่ม
2. สวมเสื้อสบายๆ ควรเป็นเสื้อกระดุมผ่าหน้า หรืออาจเป็นเสื้อที่ทางโรงพยาบาลจัดไว้ให้และใส่รองเท้าที่เหมาะกับการออกกำลังกาย
3. อาจต้องหยุดยาบางชนิดก่อนมาทำการทดสอบ ( กรุณาปรึกษาแพทย์ของท่านก่อน )
4. การตรวจมักใช้เวลาประมาณ 30 นาที แต่ควรเผื่อเวลาไว้บ้างสำหรับการเตรียมตัวและเรื่องอื่นๆ
5. งดการออกกำลังกายอื่นๆก่อนมาตรวจ

การตรวจสุขภาพโรคหัวใจ

การวินิจฉัยโรคหัวใจ

- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) เป็นการวินิจฉัยโรคหัวใจเบื้องต้น ด้วยการตรวจกระแสไฟฟ้าที่กล้ามเนื้อหัวใจผลิตออกมา ขณะที่หัวใจบีบตัว โดยคลื่นไฟฟ้าจะช่วยบอกจังหวะการเต้นของหัวใจ อัตราการเต้นของหัวใจ บอกขนาดห้องหัวใจ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนา กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และกล้ามเนื้อหัวใจตาย

- การตรวจสมรรถภาพหัวใจ ด้วยการออกกำลังกาย (EST) การตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีนี้จะช่วยบอกได้ว่า มีภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบซ่อนเร้นอยู่หรือไม่ โดยทดสอบเดินบนเครื่องออกกำลังกายให้หัวใจทำงานเต็มที่ และดูการเปลี่ยนแปลงของกราฟหัวใจเมื่อมีเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นผลจากภาวะโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือหลอดเลือดหัวใจตีบนั่นเอง

- การตรวจหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง (Echocardiography) ด้วยหลักการสะท้อนกลับของคลื่นเสียงความถี่สูงซึ่งจะส่งผ่านผนังทรวงอกไปถึงหัวใจโดยหัวตรวจชนิดพิเศษ ช่วยในการวินิจฉัยโรค พยากรณ์โรค ตรวจหาความรุนแรง และติดตามผลการรักษาในโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคหัวใจแต่กำเนิด โรคลิ้นหัวใจพิการ โรคกล้ามเนื้อหัวใจพิการ โรคของเยื่อหุ้มหัวใจ

- การตรวจคลื่นหัวใจ 24 ชั่วโมง (Holter) เป็นการติดเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง ไว้กับตัว โดยที่ท่านสามารถกลับไปพักที่บ้าน หรือทำงาน ได้ตามปกติ เพื่อตรวจดูลักษณะของคลื่นหัวใจในขณะผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ หรือคลื่นหัวใจที่ผิดปกติแม้จะไม่มีอาการภายในช่วงเวลา 24-48 ชั่วโมง โดยการตรวจวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อาจจะมีปัญหาใจสั่นผิดปกติเป็นครั้งคราว หน้ามืดคล้ายจะเป็นลมอยู่เสมอ เวียนศีรษะ ใจเต้นแรงผิดปกติเป็นประจำ แต่บางครั้งขณะมาพบแพทย์อาการดังกล่าวไม่ปรากฎ

- การตรวจสวนหัวใจเพื่อวินิจฉัยโรคหัวใจ (Coronary Angiogram)
- การตรวจวินิจฉัยก่อนคลอด

การรักษาโรคหัวใจโดยไม่ต้องผ่าตัด

- การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน ตลอด 24 ชั่วโมง (PCI)
- การขยายลิ้นหัวใจด้วยบอลลูน
- การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจถาวร
- การปิดผนังหัวใจหรือหลอดเลือดรั่ว

การผ่าตัดหัวใจ

- การผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจตีบ

- การผ่าตัดลิ้นหัวใจ เมื่อลิ้นหัวใจผิดปกติ หรือเสียหายมากจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ การผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนลิ้นหัวใจก็มีความจำเป็น ซึ่งอาจเป็นลิ้นหัวใจที่ทำจากพลาสติก โลหะ หรือลิ้นหัวใจที่ทำจากเนื้อเยื่อของมนุษย์เองหรือจากสัตว์ก็ได้ ลิ้นหัวใจทั้งสองชนิดมีประโยชน์และข้อบ่งชี้ในการใช้งานที่แตกต่างกันตามลักษณะของผู้ป่วย การผ่าตัดลิ้นหัวใจโดยมากใช้เวลาประมาณ 2-4 ชั่วโมง

- การผ่าตัดหลอดเลือดแดงโป่งพอง ผู้ป่วยที่มีเส้นเลือดแดงในช่องอกโป่งพองจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกเฉียบพลัน ร้าวทะลุหลัง หรือมีปัจจัยเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดเส้นเลือดแดงโป่งพองจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนหลอดเลือดแดงด้วยหลอดเลือดแดงเทียม เพื่อป้องกันการแตกของเส้นเลือดแดงซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตกระทันหัน

- การผ่าตัดโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในผู้ใหญ่ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่ตรวจพบ เช่น ผนังกั้นหัวใจรั่ว โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดเขียวจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อป้องกันสภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตถึงแม้จะไม่อาการในขณะนี้ เช่นการติดเชื้อในช่องปอด ภาวะความดันในเส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงปอดสูง


แพทย์โรคหัวใจ

- อายุรแพทย์หัวใจ
- ศัลยแพทย์หัวใจ

สิ่งอำนวยความสะดวกและเทคโนโลยีทางการแพทย์ของเรา

- เครื่องวิ่งสายพานตรวจหัวใจ
- เครื่องเอคโค่คาดิโอแกรม
- เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชม.
- เครื่องฉีดสีตรวจหลอดเลือดหัวใจ
- ดิจิตอลเอ็กซเรย์
- เครื่องกระตุ้นหัวใจ
- คลื่นไฟฟ้าจี้หัวใจ

สถานที่ & ติดต่อ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณานัดหมายล่วงหน้าได้ที่

โทร. 0-2804-8959 ศูนย์หัวใจ ต่อ 8230, 8112

คณะแพทย์ศูนย์หัวใจ

นายแพทย์วรวุฒิ รุ่งประดับวงศ์

ศูนย์บริการทางการแพทย์ : ศูนย์หัวใจ
ความชำนาญ : อายุรกรรมโรคหัวใจ
ความชำนาญพิเศษ : อนุสาขาหัวใจเต้นพริ้วไม่เป็นจังหวะ
ตารางการออกตรวจแพทย์
วัน เวลา สถานที่
อาทิตย์ - -
จันทร์ 18.00 - 20.00 Heart Center
อังคาร - -
พุธ 18.00 - 20.00 Heart Center
พฤหัสบดี - -
ศุกร์ 18.00 - 20.00 Heart Center
เสาร์ 09.00 - 12.00 Heart Center