ภาษา

ศูนย์บริการทางการแพทย์

ศูนย์เคมีบำบัด

ศูนย์เคมีบำบัด

ข้อมูลทั่วไป

การรักษาด้วยเคมีบำบัด มีวัตถุประสงค์เพื่อ

-รักษาผู้ป่วยให้หายจากโรคมะเร็งและไม่กลับมาเป็นซ้ำ
-ควบคุมโรคให้ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กลงหรือไม่โตขึ้น และไม่แพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น
-บรรเทาอาการสำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะแพร่กระจาย เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
อย่างไรก็ดี เนื่องจากยาเคมีบำบัดไม่ได้ออกฤทธิ์จำเพาะเจาะจงที่เซลล์มะเร็งเท่านั้น จึงอาจส่งผลกระทบต่อเซลล์ปกติทั่วไปและการทำงานของอวัยวะอื่นๆ ทำให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปากอักเสบ เบื่ออาหาร ภูมิต้านทานต่ำ ท้องเสีย ผมร่วง ซึ่งอาการเหล่านี้จะมากหรือน้อยขึ้นกับชนิดของยา ความแข็งแรงของร่างกาย และความพร้อมด้านจิตใจของผู้ป่วย

การเลือกใช้ยาเคมีบำบัด

การเลือกใช้ยาเคมีบำบัดที่ถูกต้องทั้งชนิด ปริมาณ และระยะเวลาการให้ยา มีความสำคัญต่อประสิทธิผลของการรักษาโรคมะเร็งเป็นอย่างมาก เนื่องจากยาเคมีบำบัดจัดเป็นยาอันตราย การได้รับยาในปริมาณที่มากเกินไปอาจส่งผลให้เกิดอาการข้างเคียงที่รุนแรง แต่หากได้รับยาในปริมาณที่น้อยเกินไปก็อาจไม่สามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้

ในการเลือกสูตรยาเคมีบำบัด แพทย์จะพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น ชนิดของมะเร็ง ระยะของมะเร็ง อายุ ภาวะสุขภาพของผู้ป่วย โรคประจำตัว ประวัติการรักษามะเร็งในอดีต ผลข้างเคียง การออกฤทธิ์เสริมหรือต้านฤทธิ์ระหว่างยาเคมีบำบัดเมื่อใช้หลายชนิดร่วมกัน โดยผู้ป่วยอาจได้รับยาเคมีบำบัดเพียงชนิดเดียวหรือหลายชนิด ซึ่งการใช้ยาหลายชนิดร่วมกันจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้ยาเพียงชนิดเดียว

ระยะเวลาในการรักษาด้วยเคมีบำบัด

ระยะเวลาในการรักษาด้วยเคมีบำบัดขึ้นอยู่กับชนิดของโรค ระยะของโรค และการตอบสนองต่อยา โดยปกติยาเคมีบำบัดจะให้เป็นชุด ใช้เวลา 1-5 วันต่อชุด แต่ละชุดห่างกัน 3-4 สัปดาห์ ซึ่งผู้ป่วยอาจได้รับเคมีบำบัดเฉลี่ย 6-8 ชุด (ขึ้นกับแผนการรักษาของแพทย์) โดยผู้ป่วยควรมารับยาตามนัดทุกครั้งเพื่อผลการรักษาที่ดี

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับเคมีบำบัด

รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
พักผ่อนให้เพียงพอและเพิ่มการนอนพักในช่วงกลางวันอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมงต่อวัน
หากมีโรคประจำตัว เช่น หัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคที่ต้องรับประทานยาเป็นประจำ ต้องแจ้งให้แพทย์ผู้รักษาทราบ
ควรทำอารมณ์และจิตใจให้พร้อมรับการรักษา โดยลดความกลัวและความวิตกกังวลลง

การดูแลตนเองขณะรับเคมีบำบัด

สังเกตผิวหนังบริเวณที่ฉีดยา ถ้ารู้สึกปวด บวม แดง หรือสงสัยมียารั่วซึมออกนอกหลอดเลือด ต้องแจ้งพยาบาลทันที
ดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยขับสารเคมีที่อาจตกค้างในร่างกายออกทางปัสสาวะ
ถ้ามีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ให้แจ้งพยาบาลทันที

สิ่งอำนวยความสะดวกและเทคโนโลยีทางการแพทย์ของเรา

-

สถานที่ & ติดต่อ

เวลาเปิดทำการ

วันอังคารกับวันพฤหัสบดี

และกรณีมีผู้ป่วยเร่งด่วน

คณะแพทย์ศูนย์เคมีบำบัด

พญ.ธิติมา พัววรานุเคราะห์

ศูนย์บริการทางการแพทย์ : ศูนย์เคมีบำบัด
ความชำนาญ : อายุรศาสตร์
ความชำนาญพิเศษ : อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
ตารางการออกตรวจแพทย์
วัน เวลา สถานที่
อาทิตย์ - -
จันทร์ 08.00-17.00 อายุรกรรม
อังคาร

08.00-17.00

อายุรกรรม

พุธ

08.00-17.00

อายุรกรรม

พฤหัสบดี

08.00-17.00

อายุรกรรม

ศุกร์

08.00-17.00

อายุรกรรม

เสาร์ - -