ภาษา

ศูนย์บริการทางการแพทย์

ศูนย์หัวใจ

ศูนย์หัวใจ

ข้อมูลทั่วไป

อโรคยา ปรมาลาภา ”ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ” หลายคนคงเข้าใจสัจธรรมอันนี้ เป็นอย่างดี โดยเฉพาะ ผู้ที่เจ็บป่วยเรื้อรัง มีโรค ประจำตัวต่างๆ หรือจากประสบการณ์ของแพทย์เองบางครั้งเกิดมีอาการเจ็บป่วยกระทันหัน เช่น ปวดท้องมาก ท้องเสีย จาก อาหารเป็นพิษ หมอจะนึกในใจ อยู่อย่างเดียวว่า ขอให้หายโดยเร็วเถิด จะยอมทุกอย่างขออะไรก็จะให้หมด

ดังนั้นในบรรดาความสุขในโลกนี้ คิดว่าไม่มีความสุขใดจะยิ่งใหญ่และเทียบเท่าการมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงดีได้ ดังนั้นจึงขอ เชิญชวน ให้ทุกท่านหมั่นดูแลสุขภาพตัวเอง การดูแลสุขภาพตัวเองนอกจากจะไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพประจำปีแล้ว การมีความรู้เกี่ยวกับ อาการต่างๆ ที่ผิดปกติ ก็จะช่วยให้เราไม่พลาดการรักษาที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลใกล้ชิดจาก แพทย์ในระยะเวลา ที่เหมาะสม

อาการดังกล่าว เป็นเพียงสัญญาณเตือนเท่านั้น ในผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีอาการดังกล่าวปรากฏชัดเจน ดังนั้นหากพบว่า ตัวเองมีอาการอย่างอื่น หรือมีปัจจัยเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมอย่างละเอียด

10 อาการเตือนของโรคหัวใจ...ที่คุณสามารถป้องกันได้
1. ใจสั่นหัวใจเต้นแรง
2. เหนื่อยง่ายเวลาออกแรง
3. เจ็บแน่นหน้าอกตรงกลาง
4. หน้ามืดเป็นลมไม่ทราบสาเหตุ
5. นอนศีรษะสูง/เหนื่อยตอนกลางคืน
6. ริมฝีปากและมือเท้าเขียว
7. บวมทั้งตัวโดยเฉพาะขา
8. เส้นเลือดที่คอโป่งพอง
9. ท้องโตตับโตไม่ทราบสาเหตุ
10. ไอเป็นเลือดไม่ทราบสาเหตุ

หัตถการภายในศูนย์หัวใจ
- จี้ไฟฟ้าหัวใจ
- ผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
- การใช้บอลลูน
- ถ่างขยายหลอดเลือด
- รักษาอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ

สิ่งอำนวยความสะดวกและเทคโนโลยีทางการแพทย์ของเรา

การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจด้วยเครื่องมือ และอุปกรณ์ที่ทันสมัยนั้น สามารถทำให้คุณรู้ถึงสาเหตุของอาการของโรคได้อย่างทันท่วงที
1. เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
2. เครื่องตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลังกาย (EST)
3. เครื่องตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiography)
4. เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงที่สุด (64-Slice multi detector CT Scan) สำหรับตรวจหัวใจและหลอดเลือด
5. เครื่องตรวจบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง (Holter Monitor)

อย่างไรก็ดี การจะป้องกันโรคหัวใจนั้น เราจะต้องเปลี่ยนพฤติกรรม ต้องระวังไม่ให้น้ำหนักเกิน ต้องออกกำลังกายสม่ำเสมอ ถึงจะลดความเครียดลง คนที่ไม่ออกกำลังกายจะมีความเครียดสูง บริโภคอาหารพวกที่มีไฟเบอร์ให้เยอะขึ้น เช่น พวกผัก ผลไม้ที่ไม่หวาน มีน้ำตาลต่ำ บริโภคไขมันสัตว์น้อยลง โปรตีนก็ไปเน้นที่ปลาและจากถั่ว เช่น เต้าหู้ เป็นต้น

ให้เรา...เป็นผู้ดูแลคุณตั้งแต่การป้องกัน การวินิจฉัยในระยะเริ่มต้น การรักษาด้วยยาแบบครบวงจร ตลอดจนถึงการส่งต่อเพื่อการรักษาทางศัลยกรรมหัวใจและหลอดเลือด

สถานที่ & ติดต่อ

โทร. 053-910999 ต่อ 177,708
ฉุกเฉิน โทร. 053-700200

คณะแพทย์ศูนย์หัวใจ

แพทย์หญิงขวัญใจ ทศศิริ

ศูนย์บริการทางการแพทย์ : ศูนย์หัวใจ
ความชำนาญ : ศัลยแพทย์หลอดเลือดหัวใจและทรวงอก
ความชำนาญพิเศษ : -
ตารางการออกตรวจแพทย์

 

นายแพทย์ณัฐดนัย เกียรติจิรภัทร

ศูนย์บริการทางการแพทย์ : ศูนย์หัวใจ
ความชำนาญ : อายุรกรรม-หัวใจ
ความชำนาญพิเศษ : -
ตารางการออกตรวจแพทย์

 

นายแพทย์ฮารีราม ตีวารี

ศูนย์บริการทางการแพทย์ : ศูนย์หัวใจ
ความชำนาญ : แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจและหลอดเลือด
ความชำนาญพิเศษ : -
ตารางการออกตรวจแพทย์